1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการวัดให้ชัดเจน
ตย. เพื่อให้นักเรียนสามารถปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่าง ๆ ได้
2. ระบุพฤติกรรมที่ต้องการวัด
ตย. ปั้นดินน้ำมัน (พฤติกรรมทักษะพิสัย)
3. ศึกษาลักษณะของพฤติกรรม แล้ววิเคราะห์เป็นพฤติกรรมย่อย ๆ
กระบวนการ
ขั้นตอนการปั้น
การเตรียมอุปกรณ์
การเก็บอุปกรณ์
ความคล่องแคล่ว
เวลาที่ใช้ในการปั้น
ฯลฯ
ผลงาน
ความคิดสร้างสรรค์
ความปราณีต
ขนาด
ความสมส่วนของรูปทรง
ฯลฯ
คุณลักษณะด้านจิตพิสัย
ความตั้งใจ
ความพยายาม
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ฯลฯ
4. นำพฤติกรรมย่อยมาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่สำคัญแล้วจัดเรียงตามลำดับก่อนหลัง
กระบวนการ
1. การเตรียมอุปกรณ์
2. ขั้นตอนการปั้น
3. เวลาที่ใช้ในการปั้น
4. การเก็บอุปกรณ์
ผลงาน
1. ความคิดสร้างสรรค์
2. ความปราณีต
3. ความสมส่วนของรูปทรง
คุณลักษณะด้านจิตพิสัย
1. ความตั้งใจ
2. ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
5. กำหนดระดับคุณภาพว่าต้องการประเมินกี่ระดับเช่น 3 ระดับ 4 ระดับ 5 ระดับ ฯลฯ
ตย. ผู้ประเมินกำหนดระดับคุณภาพของการปฏิบัติ 3 ระดับ
คือ ดี พอใช้ ปรับปรุง
6. สร้างแบบประเมินโดยมีช่องให้ทำเครื่องหมายว่านักเรียนแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ ในระดับใด และเขียนคำชี้แจงการใช้ แบบประเมินให้ชัดเจน
7. กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การผ่าน
ตย. เกณฑ์การให้คะแนน
ให้ 2 คะแนน เมื่อ ผลการปฏิบัติดีมาก
ให้ 1 คะแนน เมื่อ ผลการปฏิบัติพอใช้
ให้ 0 คะแนน เมื่อ ผลการปฏิบัติต้องปรับปรุง
ตย. เกณฑ์การผ่าน
ผู้ที่ผ่านเกณฑ์พอใช้ต้องมีคะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป
ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ระดับดีต้องมีคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป
รายการประเมินมี 10 รายการ
มีคะแนนต่ำสุด = 0 คะแนน คะแนนสูงสุด = 20 คะแนน
กำหนดเกณฑ์การผ่านได้ ดังนี้
ได้คะแนน 0 – 9 คะแนน ไม่ผ่าน
ได้คะแนน 10 –15 คะแนน ผ่านในระดับพอใช้
ได้คะแนน 16 – 20 คะแนน ผ่านในระดับดี